เสาเข็มเหล็ก

รับตอกเสาเข็มเหล็ก คือเหล็กท่อกลมดำเชื่อมต่อเป็นท่อนๆลงไปจนสุดชั้นดินดานหรือจนตอกไม่ลงโดยใช้ปั้นจั่นขนาดเล็กตอกหรือการใช้แม่แรงไฮโดรลิกกดสามารถยึดเสาให้เหมือนกับเป็นเสาต้นเดียวกันได้เลยทีเดียวหลังจากนั้นใส่ไส้เหล็กแล้วเทคอนกรีตกรอกลงไปให้เต็มท่อเป็นอันเสร็จ จึงมีคุณสมบัติความแข็งแรงและปลอดภัย
หากนึกถึงสิ่งสำคัญในการก่อสร้างบ้านหรืออาคาร  องค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้โครงสร้างเกิดความแข็งแรง โดยเฉพาะในภูมิประเทศพื้นที่ราบลุ่ม หรือมีการก่อสร้างตึกสูง ก็จำเป็นที่จะต้องนึกถึงการตอกเสาเข็ม ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการก่อสร้าง ที่จะช่วยให้อาคารสามารถคงสภาพได้อย่างมั่นคง รวมไปถึงการทำหน้าที่รองรับน้ำหนักโครงสร้างไม่ให้พังทลายลงมา ดังนั้นเสาเข็มที่ใช้ตอกลงสู่พื้นดินนั้นจะต้องมีความแข็งแรงสูง มีความทนทาน สามารถรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี โดยเสาเข็มที่วางจำหน่ายอยู่ในตลาดในปัจจุบันนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายทางเลือก และสำหรับบทนี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับ เสาเข็มเหล็ก ที่ได้รับความนิยมกันว่ามันคืออะไร
ประโยชน์ของเสาเข็มเหล็ก
โครงสร้างน้ำหนักทุกอย่างล้วนต้องมีการวางรากฐาน เพื่อเป็นตัวค้ำยันคอยต้านและรองรับ เพื่อให้สิ่งก่อสร้างสามารถคงรูปเดิมเอาไว้ได้  และหากสำหรับการสร้างบ้านนั้น การจัดตั้งเสาไว้ให้ได้ความแข็งแรง จำเป็นจะต้องมีการตอกตัวเสาให้ฝังลงไปในความลึก ตามที่มาตรฐานการก่อสร้างได้กำหนดเอาไว้เสียก่อน โดยลักษณะการรับน้ำหนักของเสาเข็มนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ การลดน้ำหนักจากชั้นดินและการรับน้ำหนักจากตัวเสา
โดยเสาเข็มเหล็กนั้นจะมีเกรดของวัสดุเนื้อเหล็กและกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันออกไป ให้เลือกใช้ในท้องตลาด อาทิเช่นเหล็กที่ทำมาจากเหล็กกล้า SS400  หรือมีการเสริมความคงทนของอายุการใช้งานที่ยาวนาน ด้วยกระบวนการชุบเคลือบสังกะสีแบบ  Hot Dip Galvanized  อีกทั้งยังมีรูปแบบของเสาเข็มที่ผ่านการพัฒนาตามเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย ซึ่งจะมีคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ตามแต่ละผู้ผลิตจะสร้างขึ้น

 เสาเข็มเหล็ก
เสาเข็มเหล็ก

โดย เสาเข็มเหล็กไมโครไพล์  ( micro pile ) เป็นเสาเข็มเหล็กที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบรอบข้าง เสาเข็มแบบนี้จะเป็นเสาที่มีการฝังโครงเหล็กไว้ในเนื้อคอนกรีต โดยที่ตรงกลางมีการเจาะรูเว้นช่องโหว่ไว้ โดยมีลักษณะแบบกลม
ขณะเดียวกันตัวเสาเข็มเหล็กยังสามารถตัดแบ่งส่วนออก หรือนำมาต่อเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มความยาวให้กับเสาโดยวิธีการใช้ปั้นจั่นแบบเฉพาะ เพื่อตอกเสาเข็มลงไป
ลักษณะกลวงของเสาถูกออกแบบมาเพื่อให้มีส่วนช่วยในการ ลดแรงสั่นสะเทือนขณะดำเนินการตอก รวมถึงในกรณีที่มีการใช้เสาแบบยาวมาก ก็ยังสามารถช่วยลดแรงดันของดินในขณะที่กำลังทำการตอกได้อีกด้วย ซึ่งดินจะเกิดสภาวะบีบอัด จึงไม่ต้องกังวลว่าบ้านใกล้เคียงจะได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน เหมาะสำหรับการก่อสร้างที่จำเป็นต้องมีการควบคุมผลกระทบ และหลีกเลี่ยงข้อพิพาทกับสถานที่ใกล้เคียง
อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างในลักษณะใด จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้รูปแบบของเสาเข็มเหล็กให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นชนิดของเสาเข็มหรือขนาดของเสาเข็ม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้จำหน่ายและติดตั้งเสาเข็มจะสามารถประเมินลักษณะของพื้นที่ เพื่อเลือกใช้ชนิดของเสาเข็มเหล็กได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างมีมาตรฐาน จึงจะเกิดความมั่นคงของการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

เสาเหล็กแบบตอก กับ เสาเหล็กแบบกด

เสาเข็มเหล็ก บ้านและอาคารต่าง ๆ นั้น เมื่อผ่านเวลาไปหลายปีดินใต้พื้นอาจจะมีการเริ่มทรุดตัวลง จากน้ำหนักจำนวนมหาศาลที่บ้านได้กดทับลงไป ซึ่งการทรุดตัวของดินจะส่งผลกระทบโดยตรงกับโครงสร้างของอาคาร โดยมีตั้งแต่การเกิดรอยร้าวไปจนถึงแตกหักของโครงสร้าง ซึ่งวิธีการป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นระหว่างการทรุดตัวของดิน ก็คือการตอกเสาเข็มที่มีคุณภาพลงไป อย่างเช่น เสาเข็มเหล็ก เพราะเสาเข็มชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อ เสริมประสิทธิภาพการรับนํ้าหนักให้กับโครงสร้าง สำหรับรองรับกรณีที่มีการทรุดตัวของบ้านเป็นหลัก
เสาเข็มแบบตอก กับ เสาเข็มแบบกด ต่างกันอย่างไร
วิธีการติดตั้งเสาเข็มนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือแบบตอกกับแบบกด ซึ่งทั้งสองวิธีการนั้น ต่างก็มีรูปแบบกรรมวิธีการดำเนินการที่แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้

เสาเข็มเหล็ก
เสาเข็มเหล็ก
เสาเข็มเหล็กแบบตอก
วิธีการติดตั้งเสาเข็มด้วยวิธีการตอก จะเป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ปั่นจั่น ในการตอกเสาลงไปในดิน โดยวิธีการดำเนินการมีดังนี้
1.เตรียมพื้นที่แล้วนำปั้นจั่นไปติดตั้ง ยัง ตำแหน่งที่ต้องการลงเสาเข็ม จากนั้นจึงทำการทดสอบการทิ้งลูกดิ่งเพื่อค้นหาจุดศูนย์กลางหรือแนวศูนย์กลางของเข็ม ว่ามีระยะดิ่งที่ได้ตามต้องการหรือไม่
2.นำเสาเข็มเหล็กท่อนแรก วางในตำแหน่งที่ต้องการตอก เสร็จแล้วให้วัดความระนาบของปั้นจั่นด้วยวิธีการใช้อุปกรณ์มาตรน้ำวัดให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน และ แกน y  มาได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว เริ่มดำเนินการตอกเสาเข็มท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิด
3.นำเสาเข็มต้นที่สองมาจรดกับเข็มต้นแรกที่ตอกลงไปในแนวเส้นตรง จากนั้นให้ทำการเริ่มทดสอบด้วยมาตรวัดระดับน้ำอีกครั้ง เมื่อเสาต้นที่สองอยู่ในระดับแนวดิ่งตรงกับเสาต้นแรก เสร็จแล้วให้ตามด้วยการเชื่อมเสาเข็มเหล็กด้วยไฟฟ้าให้ติดสนิทกันแบบเต็มรอบด้าน ก่อนที่จะใช้ปั้นจั่นเล็กตอกเสาลงไปในดินทีละต้นจนมาถึงชั้นดินแข็งชั้นดินดาน หรือตามระดับที่วิศวกรได้คำนวณและกำหนดเอาไว้
 เสาเข็มเหล็ก
เสาเข็มเหล็ก
เสาเข็มเหล็กแบบกด
วิธีการติดตั้งเสาเข็มด้วยวิธีการกดนั้น ในกรณีที่ใช้เสาเข็มเหล็ก จะเป็นการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า แม่แรงไฮโดรลิค ในการกดลงไปในดิน โดยวิธีการดำเนินการมีดังต่อไปนี้
1.ขุดดินเปิดพื้นที่ในตำแหน่งที่ต้องการ โดยความกว้างนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้เสาว่าต้องการจะใช้กี่ต้น
2.ตั้งยึดประกอบโครงเหล็ก สำหรับเป็นตัวยึดเกาะเสา
3.กฎเหล็กลงไปทีละท่อน จากนั้นให้เชื่อมต่อหัวท่อ และกดลงไปจนถึงชั้นดินดาน หรือกดลงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะกดไม่ลง
4.จากนั้นจึงทำการใส่ไส้เหล็กลงไปในเสาเข็ม และทำการเทคอนกรีตลงไปในท่อเสาเหล็กจนเต็ม

วัตถุประสงค์การใช้ เสาเข็มเหล็ก

การลงเสาเข็มเหล็กเป็นสิ่งที่เราสามารถเห็นได้ตลอดแทบทุกการก่อสร้าง ซึ่งความหมายหรือวัตถุประสงค์ในการใช้เสาเข็มนั้น สามารถสร้างประโยชน์อะไรให้กับตึกสูงไปจนถึงอาคารบ้านเรือน และรองรับวัตถุประสงค์ใดได้บ้าง เสาเข็มเหล็กนั้นมีไว้ใช้ทำอะไร เพราะอะไรจึงต้องใช้กัน คำตอบมีดังต่อไปนี้
การคำนึงถึงความแข็งแรงของระบบฐานราก
เนื่องจากเสาเข็มเป็นหนึ่งในโครงสร้างสำคัญ ที่ช่วยให้บ้านสามารถสร้างขึ้นและคงอยู่ได้ เนื่องจากเสาเป็นตัวทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักและคงรูปร่างของโครงสร้างอาคารให้คงสภาพไว้ ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการเจาะลงไปยังชั้นดิน ก็เพราะต้องการสร้างความมั่นคงให้แก่อาคาร โดยไม่ให้เกิดการเอนเอียงหรือเสียศูนย์จนพังทลายเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีแผ่นดินไหวหรือดินทรุดตัว

วัตถุประสงค์ยอดนิยม ในการใช้เสาเข็มเหล็ก
1.เพื่อถ่ายเทน้ำหนักได้มั่นคงขึ้น
วัตถุประสงค์หลักอย่างแรก คือ เพื่อให้เสาเข็มที่ติดตั้งลงไปสามารถถ่ายเทน้ำหนักผ่านน้ำ หรือ ชั้นดินอ่อนด้านใต้ ให้สามารถส่งน้ำหนักอีกส่วนหนึ่งไปถึงยังชั้นดินแข็งซึ่งมีความแข็งแรงสูง จากการใช้งานเสาเข็มรับน้ำหนักบริเวณด้านปลาย  ดังนั้นหากเป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นจากเหล็กก็จะยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งมากขึ้นอีก
2.ใช้เป็นสมอรั้งโครงสร้างที่รับแรงถอนได้แข็งแกร่งขึ้น
มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการเจาะไปถึงชั้นลึก เพื่อให้ตัวเสาเข็มทำหน้าที่เป็นสมอคอยรั้งโครงสร้างต่าง ๆ ของอาคารที่สามารถรับแรงถอนได้ ซึ่งการใช้เสาเข็มแบบเหล็กจะยิ่งเพิ่มความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

 เสาเข็มเหล็ก
เสาเข็มเหล็ก
3.ใช้เป็นสมอเพื่อต้านแรงฉุดในแนวนอนจากกำแพงชั้นดิน
เสาเข็มสามารถทำหน้าที่เป็นสมอ เพื่อเป็นตัวต้านแรงฉุดในแนวนอนจากกำแพงกันดิน หรือ การต้านแรงฉุดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชั้นใต้ดิน ซึ่งในกรณีนี้หากเป็นเสาเข็มจากวัสดุชนิดอื่น อาจเกิดการวิบัติได้มากกว่าหากแรงฉุดนั้นมีความรุนแรงสูง
4.เลือกใช้เสาเข็มเพื่อถ่ายเทน้ำหนักด้วยแรงเสียดทาน ที่ยึดเกาะได้แน่นขึ้น
เพื่อให้เสาเข็มเป็นตัวถ่ายเทน้ำหนักและแทงลึกลงไปยังชั้นดินอ่อน ผ่านการอาศัยแรงเสียดทานและน้ำหนักความยาวจากเสาเข็มเป็นตัวช่วย 
5.ใช้สำหรับขยายความลึกของฐานราก
การขยายความลึกของฐานราก ให้สามารถผ่านไปถึงบริเวณที่เกิด Scouring ได้ จะช่วยสร้างความปลอดภัยและการป้องกันเมื่อดินเริ่มมีการสึกกร่อน
6.มีความแข็งแรงทนทานสูง
ตัวหัวเสาเข็มเหล็กทำจากวัสดุเหล็กที่มีความแข็งแรงทนทาน สามารถเจาะชั้นดินลงไปได้ลึก และสามารถคงสภาพเดิมได้นานเป็นระยะเวลาหลายสิบปี
นอกจากนี้การใช้เสาเข็มเหล็ก ยังสามารถช่วยในการอัดดินประเภท Granular soils ให้เกิดความแน่นตัวมากขึ้น เพื่อลดปริมาณการสึกกร่อนหรือการทรุดตัวของชั้นดิน ซึ่งนี้ก็คือทั้งหมดของคุณสมบัติที่รองรับวัตถุประสงค์ในการ นำเสาเข็มเหล็กมาใช้สำหรับสร้างบ้าน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่โครงสร้างของบ้าน ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น พร้อมยกระดับอายุการใช้งานที่อยู่อาศัยให้ยาวนานมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

คุณสมบัติเด่นของ เสาเข็มเหล็ก

สำหรับการก่อสร้างที่จะต้องมีการใช้วิธีลงเสาเข็ม สิ่งสำคัญประการแรกนั่นก็คือจะต้องพิจารณาจากสภาพแวดล้อมของการก่อสร้าง จุดประสงค์การใช้งานของอาคาร รวมไปถึงลักษณะของพื้นดิน และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในพื้นที่เหล่านั้น จากนั้นจึงจะสามารถได้ข้อสรุปในการเลือกใช้เสาเข็มแต่ละประเภท และกำหนดขนาดของเสาเข็มได้อย่างถูกต้องสอดคล้อง ซึ่งเสาเข็มแต่ละชนิดนั้นก็จะให้คุณสมบัติโดดเด่นแตกต่างกันไป โดยสำหรับคุณสมบัติเด่นของเสาเข็มเหล็กนั้นจะมีดังต่อไปนี้
1.หมดปัญหาการเกิดโพรงใต้อาคาร จากการทรุดตัวของผิวดิน
เสาเข็มเหล็กจะมีคุณสมบัติคล้ายกับการก่อสร้างที่ใช้ระบบฐานรากแบบฐานรากแผ่ ซึ่งเสาเข็มแบบคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้น จะนิยมตอกลงไปจนถึงชั้นดินดาลเพื่อให้โครงสร้างอยู่ในมวลหินแข็ง ซึ่งการตอกเสาเข็มแบบนี้เมื่อใดก็ตามที่เกิดการทรุดตัวของชั้นดินผิวหน้าเกิดขึ้น เมื่อนั้นดินโดยรอบอาคารจะทรุดตัวลงไป แต่เสาเข็มยังคงติดอยู่ในชั้นหินแข็ง ตัวเสาและอาคารจะอยู่ในลักษณะคงที่เท่าเดิม แต่ก็จะก่อให้เกิดปัญหาใต้อาคารเกิดเป็นช่องโพรงได้นั่นเอง
2.เพิ่มแรงยึดเกาะกับผิวหน้าดิน
ด้วยลักษณะของเสาเข็มเหล็กนั้น จะทำให้ยึดติดแน่นกับผิวหน้าดินและทำให้อาคารได้รับความแข็งแรงมั่นคงมากยิ่งขึ้นไปอีก เพิ่มประสิทธิภาพในการแบกรับน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ในขณะทำการติดตั้งเสาเข็มเหล็ก ก็จะทำให้ดินโอบกระชับเกาะแน่นโดยรอบเสาเข็มมากยิ่งขึ้น
3. สามารถติดตั้งได้รวดเร็ว
เสาเข็มเหล็ก จะติดตั้งลงสู่พื้นดินได้อย่างรวดเร็วกว่าการตอกเสาเข็มแบบทั่วไป ช่วยย่นระยะเวลางานก่อสร้างดำเนินการติดตั้งได้อย่างคล่องตัว และอาจช่วยลดงบประมาณการก่อสร้างที่มีข้อบานปลายสิ้นเปลืองใด ๆ อันเกิดขึ้นได้จากระยะเวลาที่ล่าช้า

เสาเข็มเหล็ก
เสาเข็มเหล็ก
4.ลดผลกระทบจากมลภาวะทางเสียง
งานก่อสร้างในบางแห่งอาจจะมีข้อจำกัด หากจะใช้การตอกเสาเข็ม อันเนื่องมาจากเสียงที่เกิดการรบกวนสถานที่รอบข้าง อีกทั้งแรงสั่นสะเทือนที่มากเกินไปจากการตอก ซึ่งเสาเข็มเหล็กจะช่วยลดข้อปัญหาเหล่านี้ได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว
5.รื้อถอนการติดตั้ง และเคลื่อนย้ายได้ง่าย
สำหรับการก่อสร้างที่ต้องการใช้งานสิ่งก่อสร้างนั้นชั่วคราว หรือประเมินว่าอาจจะมีการรื้อถอนภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นส่วนต่อเติมอย่างเช่น ออฟฟิศชั่วคราวหรือห้องเก็บของไปจนถึงโรงจอดรถ ซึ่งหากเป็นโครงสร้างประเภทที่มีน้ำหนักเบา ก็สามารถเลือกใช้เสาเข็มเหล็กแบบขนาดสั้นได้ เพราะจะสามารถอาศัยคุณสมบัติเด่น ในเรื่องของการเกาะยึดหน้าดินได้ดีเป็นพิเศษ มาใช้ประโยชน์ในข้อนี้ได้
6.แข็งแกร่ง รองรับน้ำหนักได้สูง

สำหรับการก่อสร้างอาคารที่มีน้ำหนักสูง เสาเข็มเหล็กก็ให้ความแข็งแกร่งเป็นพิเศษกว่าเสาเข็มชนิดทั่วไป ด้วยลักษณะของเสาเข็มที่เป็นเหล็กทั้งท่อน ก็ย่อมที่จะให้ความแข็งแรงมากกว่าเสาเข็มไม้เสาเข็มคอนกรีต หรือแม้กระทั่งเสาเข็มแบบคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างแน่นอน

ลักษณะของเสาเข็มเหล็ก

เป็นที่ทราบกันดีว่าการก่อสร้าง หากมีการวางระบบฐานรากของโครงสร้างด้วยเสาเข็มเหล็ก ย่อมที่จะให้ความแข็งแรงทนทานและมั่นคงมากกว่าระบบฐานราก ที่ใช้ในแบบอื่นๆทั่วไปอย่างเช่น เสาเข็มไม้ เสาเข็มคอนกรีต โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ราบลุ่มหรือการก่อสร้างอาคารที่จะต้องแบกน้ำหนักในปริมาณมาก ก็ยิ่งเป็นข้อบังคับที่จะต้องใช้การตอกเสาเข็ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับน้ำหนักของอาคาร ซึ่งเสาเข็มเหล็กนั้นมีลักษณะอย่างไร และเพราะเหตุใดมันจึงสามารถสร้างความแข็งแรงให้กับอาคารต่าง ๆ ได้ รวมถึงมีข้อโดดเด่นอย่างไร เรามาหาคำตอบไปด้วยกันดังต่อไปนี้
โดยเสาเข็มเหล็กนั้น แม้ว่าหากพิจารณาจากชื่อเรียก จะเข้าใจได้ว่าหมายถึงเสาเข็มที่ผลิตขึ้นจากเหล็กโลหะ แต่ทว่าเสาเข็มชนิดนี้มีลักษณะแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ ผลิตขึ้นมาได้หลายขนาดเพื่อรองรับข้อแตกต่างในสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ก่อสร้าง และสอดคล้องกับขนาดของอาคาร อีกทั้งเสาเข็มชนิดนี้ยังมีเกรดของวัสดุที่แตกต่างกัน ใช้เหล็กที่มีให้เลือกในระดับราคาและงบประมาณ รวมไปถึงมีลักษณะทางรูปทรงในบางส่วน ที่ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อ้างอิงประสิทธิภาพแตกต่างกันไป
นอกจากนี้ในเรื่องของกระบวนการผลิต ก็มีการแข่งขันกันในเรื่องของมาตรฐานการผลิตที่ให้คุณภาพที่แตกต่างกันไม่ว่าจะชูจุดเด่นในเรื่องของความทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน หรือการแบกรับน้ำหนักที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด

เสาเข็มเหล็ก
เสาเข็มเหล็ก
อย่างไรก็ตามสำหรับหลักพื้นฐานของเสาเข็มเหล็กนั้น แน่นอนว่าจะต้องประกอบไปด้วยลักษณะของเสาเข็ม ที่มีองค์ประกอบของเหล็กเป็นสำคัญอย่างเด่นชัด ซึ่งเสาเข็มเหล็กจะมีข้อแตกต่างจาก เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ตรงที่ลักษณะของเสาเข็มนั้นจะถูกผลิตขึ้นมาด้วยเหล็กทั้งท่อน ซึ่งแม้ว่าจะใช้งบประมาณการผลิตที่สูงกว่า และทำให้มีราคาที่แพงกว่าเสาเข็มชนิดอื่น ๆ ทั่วไป แต่ก็ให้ความสามารถในการแบกรับน้ำหนักได้มากกว่า เสาแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
และแม้ว่าในอดีตเสาเข็มชนิดนี้อาจจะมีข้อกังวลในเรื่องปัญหาของสนิมและปัญหาการสึกกร่อน  ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติทางธรรมชาติโดยปกติของโลหะชนิดเหล็ก แต่ทว่าในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่พัฒนาเข้ามาปกป้องปัญหาสนิม ด้วยกระบวนการผลิตที่เคลือบกันสนิม ไม่ให้ซึมลงไปในเนื้อเหล็ก ทำให้เสาเข็มเหล็กมีความคงทนสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน มากยิ่งขึ้น
ลักษณะของเสาเข็มเหล็กไมโครไพล์นั้นจะใช้วัสดุเป็นเหล็กหนา หล่อพิเศษ ที่มาพร้อมด้วยคุณสมบัติปกป้องสนิม สามารถทำการติดตั้งได้เร็ว ให้ความโดดเด่นในเรื่องผลกระทบทางเสียงที่มีอยู่น้อยมาก นอกจากนี้ยังใช้พื้นที่ในการทำงานที่น้อยกว่าโดยจะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ เสาเข็มไมโครไพล์แบบตอกซึ่งกระบวนการติดตั้งจะใช้ปั้นจั่นในการตอก และแบบกดที่ติดตั้งผ่านแม่แรงไฮโดรลิกกดฝังเสาลงไป

เสาเข็มเหล็กมีขนาดและการรับน้ำหนักดังนี้
ขนาด 4นิ้ว รับน้ำหนักได้ 12ตัน
ขนาด 6นิ้ว รับน้ำหนักได้ 17-19ตัน
ขนาด 8นิ้ว รับน้ำหนักได้ 20-25ตัน
ขนาด 10นิ้ว รับน้ำหนักได้ 25-30ตัน

1ท่อนยาว 1 - 2 เมตร


TAG: เสาเข็มเหล็ก