เสาเข็มแบบตอก กับ เสาเข็มแบบกด
ต่างกันอย่างไร
วิธีการติดตั้งเสาเข็มนั้นมีอยู่ด้วยกัน
2 วิธี คือแบบตอกกับแบบกด ซึ่งทั้งสองวิธีการนั้น
ต่างก็มีรูปแบบกรรมวิธีการดำเนินการที่แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้
เสาเข็มเหล็ก |
เสาเข็มเหล็กแบบตอก
วิธีการติดตั้งเสาเข็มด้วยวิธีการตอก จะเป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ปั่นจั่น ในการตอกเสาลงไปในดิน โดยวิธีการดำเนินการมีดังนี้
1.เตรียมพื้นที่แล้วนำปั้นจั่นไปติดตั้ง ยัง ตำแหน่งที่ต้องการลงเสาเข็ม จากนั้นจึงทำการทดสอบการทิ้งลูกดิ่งเพื่อค้นหาจุดศูนย์กลางหรือแนวศูนย์กลางของเข็ม ว่ามีระยะดิ่งที่ได้ตามต้องการหรือไม่
2.นำเสาเข็มเหล็กท่อนแรก วางในตำแหน่งที่ต้องการตอก เสร็จแล้วให้วัดความระนาบของปั้นจั่นด้วยวิธีการใช้อุปกรณ์มาตรน้ำวัดให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน x และ แกน y มาได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว เริ่มดำเนินการตอกเสาเข็มท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิด
3.นำเสาเข็มต้นที่สองมาจรดกับเข็มต้นแรกที่ตอกลงไปในแนวเส้นตรง จากนั้นให้ทำการเริ่มทดสอบด้วยมาตรวัดระดับน้ำอีกครั้ง เมื่อเสาต้นที่สองอยู่ในระดับแนวดิ่งตรงกับเสาต้นแรก เสร็จแล้วให้ตามด้วยการเชื่อมเสาเข็มเหล็กด้วยไฟฟ้าให้ติดสนิทกันแบบเต็มรอบด้าน ก่อนที่จะใช้ปั้นจั่นเล็กตอกเสาลงไปในดินทีละต้นจนมาถึงชั้นดินแข็ง, ชั้นดินดาน หรือตามระดับที่วิศวกรได้คำนวณและกำหนดเอาไว้
เสาเข็มเหล็ก |
เสาเข็มเหล็กแบบกด
วิธีการติดตั้งเสาเข็มด้วยวิธีการกดนั้น ในกรณีที่ใช้เสาเข็มเหล็ก จะเป็นการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า แม่แรงไฮโดรลิค ในการกดลงไปในดิน โดยวิธีการดำเนินการมีดังต่อไปนี้
1.ขุดดินเปิดพื้นที่ในตำแหน่งที่ต้องการ โดยความกว้างนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้เสาว่าต้องการจะใช้กี่ต้น
2.ตั้งยึดประกอบโครงเหล็ก สำหรับเป็นตัวยึดเกาะเสา
3.กฎเหล็กลงไปทีละท่อน จากนั้นให้เชื่อมต่อหัวท่อ และกดลงไปจนถึงชั้นดินดาน หรือกดลงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะกดไม่ลง
4.จากนั้นจึงทำการใส่ไส้เหล็กลงไปในเสาเข็ม และทำการเทคอนกรีตลงไปในท่อเสาเหล็กจนเต็ม