เป็นที่ทราบกันดีว่าการก่อสร้าง
หากมีการวางระบบฐานรากของโครงสร้างด้วยเสาเข็มเหล็ก ย่อมที่จะให้ความแข็งแรงทนทานและมั่นคงมากกว่าระบบฐานราก ที่ใช้ในแบบอื่นๆทั่วไปอย่างเช่น
เสาเข็มไม้ เสาเข็มคอนกรีต
โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ราบลุ่มหรือการก่อสร้างอาคารที่จะต้องแบกน้ำหนักในปริมาณมาก
ก็ยิ่งเป็นข้อบังคับที่จะต้องใช้การตอกเสาเข็ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับน้ำหนักของอาคาร
ซึ่งเสาเข็มเหล็กนั้นมีลักษณะอย่างไร และเพราะเหตุใดมันจึงสามารถสร้างความแข็งแรงให้กับอาคารต่าง
ๆ ได้ รวมถึงมีข้อโดดเด่นอย่างไร เรามาหาคำตอบไปด้วยกันดังต่อไปนี้
โดยเสาเข็มเหล็กนั้น
แม้ว่าหากพิจารณาจากชื่อเรียก จะเข้าใจได้ว่าหมายถึงเสาเข็มที่ผลิตขึ้นจากเหล็กโลหะ
แต่ทว่าเสาเข็มชนิดนี้มีลักษณะแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ ผลิตขึ้นมาได้หลายขนาดเพื่อรองรับข้อแตกต่างในสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ก่อสร้าง
และสอดคล้องกับขนาดของอาคาร อีกทั้งเสาเข็มชนิดนี้ยังมีเกรดของวัสดุที่แตกต่างกัน
ใช้เหล็กที่มีให้เลือกในระดับราคาและงบประมาณ รวมไปถึงมีลักษณะทางรูปทรงในบางส่วน ที่ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีใหม่
ๆ อ้างอิงประสิทธิภาพแตกต่างกันไป
นอกจากนี้ในเรื่องของกระบวนการผลิต
ก็มีการแข่งขันกันในเรื่องของมาตรฐานการผลิตที่ให้คุณภาพที่แตกต่างกันไม่ว่าจะชูจุดเด่นในเรื่องของความทนทาน
อายุการใช้งานยาวนาน หรือการแบกรับน้ำหนักที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด
เสาเข็มเหล็ก |
อย่างไรก็ตามสำหรับหลักพื้นฐานของเสาเข็มเหล็กนั้น แน่นอนว่าจะต้องประกอบไปด้วยลักษณะของเสาเข็ม ที่มีองค์ประกอบของเหล็กเป็นสำคัญอย่างเด่นชัด ซึ่งเสาเข็มเหล็กจะมีข้อแตกต่างจาก เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ตรงที่ลักษณะของเสาเข็มนั้นจะถูกผลิตขึ้นมาด้วยเหล็กทั้งท่อน ซึ่งแม้ว่าจะใช้งบประมาณการผลิตที่สูงกว่า และทำให้มีราคาที่แพงกว่าเสาเข็มชนิดอื่น ๆ ทั่วไป แต่ก็ให้ความสามารถในการแบกรับน้ำหนักได้มากกว่า เสาแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
และแม้ว่าในอดีตเสาเข็มชนิดนี้อาจจะมีข้อกังวลในเรื่องปัญหาของสนิมและปัญหาการสึกกร่อน ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติทางธรรมชาติโดยปกติของโลหะชนิดเหล็ก แต่ทว่าในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่พัฒนาเข้ามาปกป้องปัญหาสนิม ด้วยกระบวนการผลิตที่เคลือบกันสนิม ไม่ให้ซึมลงไปในเนื้อเหล็ก ทำให้เสาเข็มเหล็กมีความคงทนสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน มากยิ่งขึ้น
ลักษณะของเสาเข็มเหล็กไมโครไพล์นั้นจะใช้วัสดุเป็นเหล็กหนา หล่อพิเศษ ที่มาพร้อมด้วยคุณสมบัติปกป้องสนิม สามารถทำการติดตั้งได้เร็ว ให้ความโดดเด่นในเรื่องผลกระทบทางเสียงที่มีอยู่น้อยมาก นอกจากนี้ยังใช้พื้นที่ในการทำงานที่น้อยกว่าโดยจะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ เสาเข็มไมโครไพล์แบบตอกซึ่งกระบวนการติดตั้งจะใช้ปั้นจั่นในการตอก และแบบกดที่ติดตั้งผ่านแม่แรงไฮโดรลิกกดฝังเสาลงไป
เสาเข็มเหล็กมีขนาดและการรับน้ำหนักดังนี้
ขนาด 4นิ้ว รับน้ำหนักได้ 12ตัน
ขนาด 6นิ้ว รับน้ำหนักได้ 17-19ตัน
ขนาด 8นิ้ว รับน้ำหนักได้ 20-25ตัน
ขนาด 10นิ้ว รับน้ำหนักได้ 25-30ตัน
1ท่อนยาว 1 - 2 เมตร
เสาเข็มเหล็กมีขนาดและการรับน้ำหนักดังนี้
ขนาด 4นิ้ว รับน้ำหนักได้ 12ตัน
ขนาด 6นิ้ว รับน้ำหนักได้ 17-19ตัน
ขนาด 8นิ้ว รับน้ำหนักได้ 20-25ตัน
ขนาด 10นิ้ว รับน้ำหนักได้ 25-30ตัน
1ท่อนยาว 1 - 2 เมตร
TAG: เสาเข็มเหล็ก